อวัจนภาษาในภาษาหนังสือพิมพ์
ภาษาเป็นเครื่องมือที่ใช้สื่อสารจะใช้เสียง ท่าทาง หรือสัญลักษณ์ก็ได้
แต่จะต้องมีระบบกฎเกณฑ์ที่เข้าใจ ตรงกันระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร
ภาษาที่ใช้สื่อสารกันเป็นปกติในชีวิตประจำวันแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ ภาษาที่ใช้ถ้อยคำ
หรือวัจนภาษาและภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา
ถ้อยคำหรือวัจนภาษา
เป็นภาษาที่มนุษย์กำหนดใช้และตกลงร่วมกันเพื่อแทนมโนภาพของสิ่งต่าง ๆ
ซึ่งสามารถรับรู้ได้ทางประสาทสัมผัสได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย
ภาษาที่ไม่ใช้ถ้อยคำหรืออวัจนภาษา คือ กิริยาอาการต่าง ๆ
ที่มนุษย์ใช้สื่ออารมณ์ความรู้สึกความต้องการ ฯลฯ
บางท่านเรียกภาษาประเภทนี้ว่าภาษากาย (body language) อวัจนภาษา
ของผู้ใดส่วนใหญ่จะบ่งบอกถึงความรู้สึกและบุคลิกภาพของผู้นั้นวัจนภาษา และ
อวัจนภาษา มีความสัมพันธ์กัน โดยเฉพาะในขณะที่บุคคลสื่อสารกันใน
ลักษณะที่เห็นหน้าเห็นตากัน ย่อมต้องใช้ทั้งวัจนภาษา และ อวัจนภาษา เช่น ถ้าพูดว่า
"ฉันต้องการหนังสือเล่มนั้น" และชี้มือไปที่หนังสือเล่มที่ต้องการ
ผู้รับสารก็สามารถหยิบหนังสือได้ถูกต้อง
การสื่อสาร โดยใช้วัจนภาษา
ในรูปแบบการเขียนนั้น
หากสังเกตให้ดีจะพบว่าถ้อยคำที่เขียนนั้นมีอวัจนภาษาปนอยู่ด้วย เช่น
"เขยิบ เขยิบ เขยิบ เขยิบ เข้ามาซิ กระแซะ กระแซะ
กระแซะ เข้ามาซิ"
"ใกล้ ๆ เข้าไปอีกนิด ชิด ๆ เข้าไปอีกหน่อย
สวรรค์น้อยน้อย อยู่ในวงฟ้อนรำ"
คำว่า เขยิบ กระแซะ หรือใกล้ ๆ
ชิด ๆ ช่วยให้ผู้รับสารเห็นกิริยาอาการ หรือบทชมปลาในกาพร์เห่เรือ
ของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศร
"ชะแวงแฝงฝั่งแนบ
วาดแอบแปบปนปลอม
เหมือนพี่แอบแนบถนอม จอมสวาทนาฎบังอร"
คำว่า แฝง ,
แนบ , แอบ
เป็นคำที่ช่วยผู้อ่านมองเห็นภาพตามที่กวีบรรยายได้อย่างชัดเจน อวัจนภาษา แบ่ง เป็น
7 ประเภท (สวนิต ยมาภัย , 2538 : 36 - 41) ดังนี้
1. เทศภาษา
(proxemics) เป็นภาษาที่ปรากฎจากลักษณะของสถานที่ที่บุคคลทำการสื่อสาร
กันอยู่รวมทั้ง ช่องระยะที่บุคคลทำการสื่อสารห่างจากกัน สถานที่และช่วงระยะ
จะสื่อความหมายที่อยู่ในจิตสำนึกของผู้ที่กำลังสื่อสารกันได้ เช่น
บุคคลต่างเพศสองคนนั่งชิดกันอยู่บนม้านั่งตัวเดียวกันย่อมเป็นที่เข้าใจว่าบุคคลทั้งสองมีความสัมพันธ์เป็นพิเศษ
2. กาลภาษา
(chonemics) การใช้เวลาเป็นการสื่อสารเชิงอวัจนะ
เพื่อแสดงเจตนาของผู้รับสาร เช่น การ ไปตรงเวลานัดหมาย แสดงถึง ความเคารพ
การให้เกียรติ และเห็นความสำคัญของผู้ส่งสาร หรือการรอคอยด้วยความอดทน แสดงว่า
ธุระของผู้รอคอยมีความสำคัญมาก
3. เนตรภาษา (oculesics) เป็นอวัจนภาษาที่ใช้ดวงตาสื่ออารมณ์
ความรู้สึกนึกคิด ความประสงค์ และ ทัศนคติบางประการในตัวผู้ส่งสาร
4. สัมผัสภาษา (haptics) หมายถึงอวัจนภาษาที่ใช้อาการสัมผัส
เพื่อสื่ออารมณ์ความรู้สึก ตลอดจน ความ ปรารถนา ที่ฝังลึกอยู่ในใจของผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
5. อาการภาษา (kinesics) เป็นอวัจนภาษาที่อยู่ในรูปของการเคลื่อนไหวร่างกาย
เพื่อการสื่อสาร เช่น ศีรษะ แขน ขา ลำตัว เป็นต้น
6. วัตถุภาษา
(objectics) เป็นอวัจนภาษาที่เกิดจากการใช้และการเลือกวัตถุ
มาใช้ เพื่อแสดงความหมาย บางประการ เช่น การแต่งกายของคน
ก็สามารถสื่อสารบอกกิจกรรม ภารกิจ สถานภาพ รสนิยม ตลอดจนอุปนิสัยของบุคคลนั้น ๆ
ได้
7. ปริภาษา
(vocalics) หมายถึงอวัจนภาษา
ที่เกิดจากการใช้น้ำเสียงประกอบถ้อยคำที่พูดออกไป น้ำ
เสียงจะมีความสำคัญมากในการสื่อความหมายนั้น
ความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษา
นอกจากจะเกิดขึ้นในขณะที่บุคคลกระทำการสื่อสาร เฉพาะหน้ากันแล้ว
ในภาษาถ้อยคำหรือในวัจนภาษา
เราจะสังเกตเห็นอวัจนภาษาแฝงอยู่ด้วยตัวอย่างที่เห็นอย่างสม่ำเสมอคือ
การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ ทั้งนี้เพราะนักหนังสือพิมพ์ใช้ กลวิธีเขียนข่าวให้มีสีสันหรือวาดให้เห็นภาพ
(illustration) ซึ่งอาจเรียกว่าเป็นการแสดงเรื่องให้ผู้อ่านดูมากกว่า
การเล่าเรื่องหรือการรายงานข่าว การพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์
จึงเป็นภาษาที่เขียนขึ้นเพื่อให้ผลทางอารมณ์ แก่ผู้อ่าน ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น speeial
objects เช่น
"สำนักงบฯ ตีปี๊บ
โครงการเงินกู้เจ๋ง"
"ฆ่าโหด 20 ศพ ฝังทั้งเป็น"
ถ้าเปลี่ยน เป็น
"สำนักงบประมาณแถลงข่าวเรื่องโครงการเงินกู้ว่าประสบความสำเร็จ"
"ชาย 20 คน
ถูกฆ่าโดยวิธีการฝังทั้งเป็น"
จะพบว่า ภาษาเป็นทางการ ขาดสีสัน
ไม่เร้าอารมณ์ ให้ติดตามรายละเอียดในเนื้อข่าว
เมื่อนำภาษาพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์
มาพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างวัจนภาษาและอวัจนภาษาแล้วพบว่า
อวัจนภาษาที่พบมากในภาษาพาดหัวข่าวมี 3 ประเภท คือ
1. อาการภาษา
อวัจนภาษา ประเภทนี้จะพบมากที่สุด เพราะเป็นอวัจนภาษาที่เสริมให้วัจนภาษามีความ
หมายชัดเจน เช่น ให้ผู้อ่านมองเห็นภาพ เช่น
3 โจรบุกปล้นเรือนมยุรา
รวบ คาโรงแรม โจ๋มัธยมมั่วยา
คนกรมศาสนาลุย ปิดแล้วสำนักเพี้ยน
สุรศักดิ์ได้ประกัน หอบ 18 ล้านค้ำ
4 งูเห่าซบ ชพ.คึก
ยึดนนท์ - ลุยปทุมฯ เปิดทีมหักหาญสวัสดิ์
2. สัมผัสภาษา
อวัจนภาษาประเภทนี้พบไม่มากนัก เป็นกริยาที่คนสองคนร่วมกันทำกิจกรรม หรือเป็น
กิจกรรมของคนคนเดียวที่สัมผัสกับผู้อื่น เช่น
กก แคชเชียร์ ผจก. ดับบริศนา
หลุยส์ ควง สนั่น ไหว้ครูรามฯ
มีกริยาบางคำที่เป็นสัมผัสภาษา แต่สื่อมวลชน
นำมาใช้ในความหมายแฝง คำเหล่านี้ ไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา เช่น
รัฐควัก 300 ล.
เน้น สิบล้อ
คำว่า "อุ้ม" ในที่นี้หมายถึง
ช่วยเหลือ จึงไม่จัดเป็นสัมผัสภาษา
3. ปริภาษา อวัจนภาษา
ประเภทนี้มีไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นการใช้คำเลียนเสียง เพื่อแสดงอารมณ์หรือ
กระตุ้นให้ผู้อ่านแปลความหมายจากเสียงที่ได้ยินว่า เป็นอารมณ์อย่างไร เช่น แท็กซี่
ฮื่ม - ประมง ปิดอ่าว ครม. ไม่ลดแวต
เสรีธรรม เฮ ลั่นรับอีดี้
คำว่า ฮื่ม
เป็นน้ำเสียงแสดงอารมณ์ไม่พอใจ เฮ แสดงอารมณ์พอใจ ส่วน บิ้ม เป็นเสียงวัตถุระเบิด
สำหรับอวัจนภาษาประเภท เทศภาษา กาลภาษา
วัตถุภาษา เนตรภาษา เท่าที่ศึกษายังไม่พบแต่อาจจะปรากฎใน ภาพข่าว หรือ การ์ตูน
ซึ่ง เป็นอวัจนาภาษาที่ช่วยให้ผู้รับสารเข้าใจเนื้อหาของสารมากขึ้น เช่น
ภาษาหนังสือพิมพ์ เป็นภาษาที่มีลักษณะเฉพาะ
และมีอิทธิพลมากกว่าสิ่งพิมพ์อื่น ๆ
เพราะหนังสือพิมพ์เป็นสื่อที่เข้าถึงประชาชนทุกระดับ
การที่หนังสือพิมพ์มีภาษาเฉพาะใช้ในวงการ และโดยเฉพาะการพาดหัวข่าวและหัวข่าวรองที่มีเนื้อที่กระดาษ
จำกัด จำเป็นต้องใช้คำกระชับสะดุดตา
สะดุดใจคนอ่านซึ่งนับเป็นการสร้างสรรค์ทางภาษาที่น่าสนใจ
และนักศึกษาอย่างยิ่ง
----------------------------------------------------------------------------------------------
----------------------------------------------------------------------------------------------
Blockchain (บล็อกเชน) คืออะไร และสำคัญอย่างไร
สวัสดีค่ะคุณผู้อ่านที่น่ารักทุกคน
คุณผู้อ่านรู้ใช่ไหมคะ ว่าในยุคที่ต้องพึ่งเทคโนโ ลยีในการดำเนินชีวิตต่าง ๆ เทคโนโลยีจึงมีความสำคัญมาก
ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพใดก็ตาม ทุกคนต้องรู้เท่าทันแล้วนำมาเป็นประโยชน์ให้ได้มากที่สุด
ส่วนหัวข้อที่ฉันนำมาเสนอคือ บล็อกเชน
จะเป็นอย่างไรนั้นติดตามข้างล่างเลยค่ะ
โดยปกติแล้วเรามักต้องพึ่งพิงบุคคลที่สาม
(centralized trusted
party) มาช่วยทำหน้าที่เป็นคนกลางคอยตรวจสอบความน่าเชื่อถือเวลาทำธุรกรรม
ถ้าท่านผู้อ่านเคยทำธุรกรรมออนไลน์ จะสังเกตเห็นว่า มักจะต้องมีคำที่ระบุว่า
Secured by หรือ Protected by ตามด้วยชื่อตัวกลางใดๆ
แน่นอนว่า Trust เป็นเรื่องที่สำคัญมาก ไม่อย่างนั้นเราจะกล้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิตได้อย่างไร
โดยที่ยังมั่นใจว่ามันจะไม่รั่วไหล หรือถูกทำให้เปลี่ยนแปลง การมาของบล็อกเชนมีส่วนช่วยอย่างมาก
เพราะบล็อกเชนเป็นเทคโนโลยีใหม่
ที่ประโยชน์ของมันคือมันเป็นเทคโนโลยีที่นำมาซึ่งความปลอดภัย น่าเชื่อถือ
โดยไม่ต้องอาศัยคนกลาง ทีนี้ธุรกรรมออนไลน์ใดๆ ก็จะสามารถทำได้อย่างสะดวกมากขึ้น
ใส่ความคิดสร้างสรรค์ได้มากขึ้น creative มากขึ้น innovative
มากขึ้น ประหยัดขึ้น รวดเร็วขึ้น มันเรียกได้ว่าเป็น “transfer
of trust in a trustless world” เพราะถึงแม้สองบุคคลจะไม่เคยรู้จักกันมาก่อน
ก็สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ด้วยความมั่นใจ พูดถึงคำว่าแลกเปลี่ยนข้อมูล
ก็มีการประยุกต์ใช้ได้อย่างกว้างขวางทีเดียว เราจึงตื่นเต้นกันว่าบล็อกเชนนี่แหละ
ต่อไปจะเป็น Game changer
การทำงานของ Blockchain
บล็อกเชน
เป็นรูปแบบการเก็บข้อมูล (Data structure) แบบหนึ่ง ที่ทำให้ข้อมูล Digital transaction ของแต่ละคนสามารถแชร์ไปยังทุกๆ
คนได้ เป็นเสมือนห่วงโซ่ (Chain) ที่ทำให้ block ของข้อมูลลิ้งก์ต่อไปยังทุกๆ คนเป็น โดยที่ทราบว่าใครที่เป็นเจ้าของและมีสิทธิในข้อมูลนั้นจริงๆ
เมื่อบล็อกของข้อมูลได้ถูกบันทึกไว้ในบล็อกเชน
มันจะเป็นเรื่องยากมากๆ ที่จะเข้าไปเปลี่ยนแปลง
เวลาที่มีใครต้องการจะเพิ่มข้อมูล ทุกๆ
คนในเครือข่ายซึ่งล้วนแต่มีสำเนาของบล็อกเชน สามารถรัน Algorithm เพื่อตรวจสอบ Transaction
โดย Transaction ใหม่นี้จะได้รับอนุญาต
ต่อเมื่อในเครือข่ายส่วนใหญ่เห็นด้วยว่ามันถูกต้อง
Bitcoin (บิทคอยน์) กับ Blockchain (บล็อกเชน) เกี่ยวข้องกันอย่างไร
บล็อกเชน เป็นเทคโนโลยี
ด้านความปลอดภัยของข้อมูล
บิทคอยน์ ว่าด้วยเรื่องสกุลเงินบนโลกดิจิตอล
จะเห็นได้ว่า บล็อกเชน
ไม่ใช่ บิทคอยน์ และบิทคอยน์ ก็ไม่ใช่บล็อกเชน แต่โมเดลบิทคอยน์
มีความต้องการนำเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ เพื่อให้การซื้อขายสกุลเงินดิจิตอลนี้
มีความปลอดภัย
และเพราะว่า บล็อกเชน
ว่าด้วยเรื่องความปลอดภัยของข้อมูล
ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องได้กับทุกอุตสาหกรรม ไม่เจาะจงเฉพาะบิทคอยน์
หรือ FinTech เพียงแต่เทคโนโลยีนี้เรียกได้ว่าส่งผลกระทบต่อวงการ
FinTech ค่อนข้างเห็นได้ชัดเจน และการบูมของเทคโนโลยีตัวนี้
มาจากความพยายามในการทำบิทคอยน์
ยกตัวอย่างการประยุกต์ใช้
เช่น
วงการอสังหาริมทรัพย์ สามารถประยุกต์ใช้ทำ Smart contract โดยถ้าสัญญาอยู่ในบล็อกเชน
ทุกคนจะเห็นข้อมูลตรงกัน เราจึงสามารถไว้ใจให้ระบบ Automate ปฏิบัติงานใดๆ
ตามที่ระบุไว้ในสัญญาได้ นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย
ดังที่มีการสรุปไว้ในแผนภาพนี้
ตรวจแล้ว
ตอบลบ